📣แจ้งเตือนชาวสวนมะพร้าว หมั่นตรวจดูแปลงหากพบการระบาดศัตรูมะพร้าว🐛หนอนหัวดำ 🪰 แมลงดำหนาม

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความอาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

☔️สถานการณ์ภัยธรรมชาติ: 😷 สภาพอากาศ ระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน 2564

สภาพอากาศ ระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน 2564 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักหรือฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และจะทวีกำลังแรงขึ้นช่วงวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2564 ทำให้ในพื้นที่ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ สำหรับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนมากบริเวณอำเภอเมืองประจวบฯ ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2 เมตร
👉ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 – 21 พ.ย. 2564 กรมอุตุนิยมวิทยาขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
แนะนำให้เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตาย หรือโค่นล้มลงได้
ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง แนะนำให้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลด้วย
💪เดือนธันวาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ10 ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย เดือนนี้ยังมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างในบางช่วง จึงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาบางแห่ง คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย มีกำลังแรงเป็นระยะๆ จึงขอให้ประชาชนและชาวเรือติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด☃️
👷‍♀️👷 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านพืช เป็นอีกภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมุ่งหมายที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าตามจำเป็นและเหมาะสมให้กับเกษตรกรผู้ประสบสาธารณภัยนั้น

📣แจ้งเตือน เฝ้าระวังน้ำหลาก และปริมานน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงขึ้น (อ่างเก็บน้ำปราณบุรี และห้วยไทรงาม) จากร่องมรสุมช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 64

@🤔🤔อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร –> ภาคใต้

เดือนกันยายน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงเป็นช่วงๆ ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น
อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับไม้ผล เกษตรกรไม่ควรกองสุมเปลือกและผลที่เน่าเสียไว้ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช แต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลง โดยฝังให้ลึกหรือนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช
ในช่วงวันที่ 7 – 10 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11 – 12 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ เดือนถัดไปจะเข้าสู่ฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
วิเคราะห์โดย ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ออกประกาศ กันยายน 2564
อาจเป็นรูปภาพของ กลางแจ้ง และข้อความ

เตือนเฝ้าระวัง “ศัตรูมะพร้าว” ที่พบการระบาดสำคัญในช่วงนี้ แนะให้สังเกต รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว 🕵️‍♀️👨‍🌾

🌽🌽เตือนภัยการเกษตร🌽🌽 ปลูกข้าวโพดระวังโรคราน้ำค้างระบาด

ในภาพอาจจะมี ต้นพืช และธรรมชาติ

ช่วงนี้ฝนตก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในระยะเริ่มปลูกถึงอายุประมาณ ๓๐ วัน ระวังโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronosclerospora sorghi) โดยพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะบริเวณยอด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงมักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากด้านใต้ใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

วิธีป้องกันกำจัด
๑. ควรใช้พันธุ์ต้านทาน และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล ๓๕% ดีเอส อัตรา ๗ – ๑o กรัมต่อเมล็ด ๑ กิโลกรัม หรือ เมทาแลกซิล-เอ็ม ๓๕% อีเอส อัตรา ๓.๕ มิลลิลิตรต่อเมล็ด ๑ กิโลกรัม หรือ ไดเมโทมอร์ฟ ๕o% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๓o กรัมต่อเมล็ด ๑ กิโลกรัม
๒. ในแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรคหากพบว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ อุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เมื่อข้าวโพดอายุ ๕ ๗ วัน ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมโทมอร์ฟ ๕o% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒o – ๓o กรัมต่อน้ำ ๒o ลิตร หรือ เมทาแลกซิล ๒๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๓๐ ๔๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ทุก ๗ วัน จำนวน ๓ – ๔ ครั้ง
๓. ถอนต้นที่แสดงอาการของโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
๔. พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

**** สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้า ง เน้นการป้องกันกำจัดโดยวิธีคลุกเมล็ด เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช หลังจากข้าวโพด อายุ ๒๐ วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้
ทีีมา: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร